กองทุน มะอาริฟ

“เป็นกองทุนอิสลามเพื่อการกุศล ที่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตพี่น้องมุสลิม”

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การนอนตามสุนนะฺนบี


นบีมุฮำหมัด เป็นศาสนฑูต ที่นำคำสอนต่างๆ ให้มุสลิมกระทำตาม รวมถึงท่านเป็นแบบอย่าง(Model) ที่ทุกคนต้องทำตามด้วย ซึ่งในบางครั้งเราทำตามท่านเพราะเรารักท่าน และเป็นคำบัญญัติที่ต้องทำตามท่าน โดยไม่รู้ว่าดีอย่างไร อย่างเช่น ท่านอน ท่านจะนอน ตะแคงขวา และท่านได้สอนว่า ..

قَالَ النَّبِيُّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏إِذَا أَتَيْتَ مَضْجَعَكَ فَتَوَضَّأْ وُضُوءَكَ لِلصَّلَاةِ ثُمَّ اضْطَجِعْ عَلَى شِقِّكَ الْأَيْمَنِ

ความว่า : เมื่อเจ้าเข้าไปนอนจงอาบน้ำละหมาดเพื่อละหมากแล้วเอียงนอนตะแคงขวา

วงการแพทย์สมัยใหม่ก็ยอมรับและสนับสนุนให้นอนตะแคงขวา


นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ มนุษย์ใช้เวลาเพื่อนอนหลับถึง 1ใน 3 ของอายุขัย ขณะนอนหลับท่านอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นนอนด้วยความสดชื่น ไม่รู้สึกปวดเมื่อย ซึ่งโดยปกติคนทั่วไปคนเรานิยมนอนหงาย เพราะเป็นท่านอนมาตรฐาน การนอนหงายที่เหมาะสมนั้น ควรใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว เพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย

นพ.ชนินทร์ กล่าวว่า สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับท่านอนอื่น ๆ คือ ท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ส่วนท่านอนตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร ส่วนท่านอนคว่ำเป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ.[1]

ท่านนบี ไม่ได้เป็นแพทย์ แต่ท่านแนะนำในสิ่งที่ถูก ฉะนั้นท่านคือศาสดาที่แท้จริง และความรู้ที่ท่านสอนก็คือความจริงที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์
คัดลอกจาก Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق http://gotoknow.org/blog/ibm401/71169

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น